STEM Education หรือ สะเต็มศึกษา

แผนการเรียนการสอนแบบ STEM Education หรือ สะเต็มศึกษา

การศึกษา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่ละประเทศได้พัฒนาแผนการเรียนการสอนมาตลอด เพื่อให้เด็กๆ ในประเทศของตน ได้พัฒนาความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อตามทันกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ วัน STEM หรือ สะเต็ม ก็เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งถือกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นการเรียนการสอนแบบใหม่ในยุคไอที เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กให้สุดขีด และประเทศไทยเองก็รับแผนนี้มาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทยให้เท่าทันเด็กชาติอื่นๆ

ซึ่งจากการที่ประเทศไทยรับแผนการเรียนการสอนนี้ มาใช้แล้วหลายปี คนไทยที่เป็นพ่อแม่ หรือเป็นผู้ปกครองของเด็ก ก็ต้องทำความรู้จักและทำความเข้าใจ เพื่อให้เด็กไทยที่เป็นบุตรหลาน ได้ประโยชน์จากแผนการเรียนการสอนนี้มากที่สุด

STEM Education หรือ สะเต็มศึกษา คือ การนำ 4 สาขาวิชา มาบูรณาการให้เป็นองค์ความรู้ โดยเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตและการทำงานจริงๆ ซึ่งประกอบด้วย

S: Science (วิทยาศาสตร์) ทำให้เด็กนำกระบวนการในวิชานี้มาใช้เป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้
T: Technology (เทคโนโลยี) ทำให้เด็กรู้จักที่จะนำเครื่องมือต่างๆ มาใช้ในการเข้าถึงข้อมูล
E: Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) ทำให้เด็กรู้จักการแก้ปัญหาตามขั้นตอน
M: Mathematic (คณิตศาสตร์) ทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ มีความคิดรวบยอด

ตั้งแต่ปี 2014 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สสวท. ได้จัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับ STEM เพื่อให้อาจารย์ นักเรียน หรือบุคคลทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูล สื่อและกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ และอื่นๆ เกี่ยวกับสะเต็ม

โดยที่สะเต็มนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแผนพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ยังเป็นการพัฒนาการสอนแบบใหม่ของอาจารย์อีกด้วย เพราะสะเต็มถือเป็นแผนการเรียนการสอนที่จะมีกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือแก้ปัญหา ตามโจทย์ที่กำหนดให้ แต่เด็กสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบไหนก็ได้ โดยที่อาจารย์ผู้สอน ทำได้แค่แนะแนวทาง ให้คำปรึกษากับเด็ก และตรวจเช็คกระบวนการทำงานและการแก้ปัญหา

STEM Education หรือ สะเต็มศึกษา

ในปัจจุบัน สสวท. ขับเคลื่อนโครงการนี้ด้วยการสร้างเครือข่ายสะเต็ม โดยศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ ศูนย์สะเต็มภาคทั้ง 13 แห่ง และโรงเรียนในเครือข่ายอีก 6 แห่ง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีทูตสะเต็ม โดยให้ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาวิชาหลักของ STEM เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ มาเป็นอาสาสมัคร แนะแนวทางให้ความรู้กับเด็กนักเรียนและอาจารย์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็ก และเป็นการพัฒนาการสอนของอาจารย์ให้เกี่ยวเนื่องกับสะเต็มยิ่งขึ้น

และยังสร้างสื่อและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงแหล่งเรียนรู้สะเต็ม เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จาก 4 สาขาวิชาหลักของสะเต็ม อีกทั้งยังบูรณาการเชื่อมโยงให้เข้ากับวิชาต่างๆ เช่น ศิลปะ สังคมศาสตร์ ภาษาไทย คอมพิวเตอร์ จากกิจกรรมที่กำหนดให้

ยกตัวอย่างเช่น ในวิชาคอมพิวเตอร์ STEM Education ทำให้ได้ปรับการเรียนการสอนแบบใหม่ คือ ให้เด็กได้เรียนรู้การสร้างโปรแกรมเอง จากการป้อนข้อมูลภาษา Python ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์อย่างง่าย เป็นพื้นฐานภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ นำกลับมาใช้เรียนรู้ใหม่ ตามคำสั่งที่กำหนดให้ เพื่อให้โปรแกรมทำงาน หลังจากที่เรียนรู้จนครบหลักสูตรแล้ว เด็กสามารถสร้างโปรแกรมจากชุดคำสั่งภาษา Python ที่ได้เรียนมาเองได้ และผ่านขั้นตอนการทำงานแบบ STEM

จะเห็นได้ว่า STEM Education หรือ สะเต็มศึกษา นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับเด็กไทย เพราะเป็นการนำกระบวนการการแก้ปัญหาของ 4 สาขาวิชาทางหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ซึ่งปกติก็เป็นวิชาที่เด็กได้เรียนกันอยู่แล้ว แค่เพิ่มเติมวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีเข้ามา ซึ่งกระบวนการในวิชาเหล่านี้ก็จะคล้ายๆ กันกับสองวิชาข้างต้น และยังสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ เพื่อนำมาใช้กับชีวิตจริงๆ ได้

หลังจากที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ ได้ทราบถึงข้อมูลของสะเต็มศึกษามากพอ ก็จะสามารถแนะแนวทางการศึกษาของเด็กให้เป็นไปตามแผนการเรียนการสอนแบบใหม่นี้ได้ เด็กก็จะได้รับความรู้ และพัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ minoterie-morineau.com

 

Releated